ยาคุมกับความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือด

 

1.ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า ความเสี่ยงเรื่องลิ่มเลือดอุดตัน (VTE) เกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ด้วย เช่น อายุมาก ภาวะอ้วน สูบบุหรี่ มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับลิ่มเลือด 

2.ผู้หญิงแข็งแรงดี มีความเสี่ยง VTE 1-5 คนใน 10,000 คนต่อปี

3.ตอนท้อง มีความเสี่ยง VTE 5-20 คนใน 10,000 คนต่อปี 

4.หลังคลอดในช่วง 3 เดือนแรก มีความเสี่ยง VTE 40-65 คนใน 10,000 คนต่อปี

5.ผู้ที่กินยาคุมฮอร์โมนรวม (มีทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน) มีความเสี่ยง VTE 3-9 คนใน 10,000 คนต่อปี 

6.ผู้ที่กินยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว (มีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว) มีความเสี่ยงเท่ากับผู้หญิงที่แข็งแรงดี (ตามข้อ 2)

7.ยังไม่พบข้อมูลความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของคนที่ฝังยาคุมกำเนิด และคนที่ฉีดยาคุมกำเนิดแบบทุก 3 เดือน (ทั้งสองแบบมีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว) 

8.ยาฉีดคุมกำเนิดแบบทุก 1 เดือน และแผ่นแปะคุมกำเนิด เป็นการคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน 2 ตัว แบบเดียวกับข้อ 5 แต่ไม่ทราบว่าความเสี่ยง VTE เป็นเท่าไร จากข้อมูลเท่าที่แอดหมอค้นหา 


ความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 

9.ในปัจจุบัน (31 พฤษภาคม 2564) ราชวิทยาลัยฯ และกรมควบคุมโรคแจ้งแล้วว่าไม่ต้องหยุดยาคุมชนิดใด ๆ ก่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

10.หากยังกังวล แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวให้ช่วยประเมินว่าตัวเรามีความเสี่ยงอื่น ๆ หรือไม่ และช่วยคิดว่าประโยชน์เทียบกับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ แล้ว เราควรตัดสินใจอย่างไรดี


Reference

1-https://www.racgp.org.au/afp/2016/januaryfebruary/risk-of-venous-thromboembolism-in-women-taking-the-combined-oral-contraceptive-a-systematic-review-and-meta-analysis/

2-https://www.acog.org/clinical/clinical-guidance/committee-opinion/articles/2019/10/over-the-counter-access-to-hormonal-contraception

3-https://www.heart.org/en/health-topics/venous-thromboembolism/risk-factors-for-venous-thromboembolism-vte

أحدث أقدم